คำถามที่พบบ่อย
ส่วนที่ 1: ข้อมูลบริษัทฯ
ส่วนที่ 1.1: ภาพรวมบริษัท
- เป็นบริษัทประกันชีวิตรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นแบรนด์ของไทยและก่อตั้งโดยคนไทย เมื่อพิจารณาจากเบี้ยประกันภัยรับรวม (ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย)
- มีเครือข่ายตัวแทนประกันชีวิตชั้นนำที่โดดเด่นและครอบคลุมทั่วประเทศ
- มีกลยุทธ์ช่องทางการขายที่หลากหลาย
- มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ครอบคลุม และมีนวัตกรรมการคิดค้น/นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสมอ
- มีความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น
- มีคณะผู้บริหารชั้นนำซึ่งมีประสบการณ์สูงในตลาดประกันชีวิตของประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นเชิงกลยุทธ์ของ TLI คือ Meiji Yasuda Life Insurance Company ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น
- มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ด้วยโครงสร้างค่าตอบแทนที่เหมาะสม
- เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด
- สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
- สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน ให้ความคุ้มครองระยะยาว ซึ่งมีอัตรากำไรที่สูง
- MY เป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น
- MY ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นเชิงกลยุทธ์กับ TLI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
- MY ได้ช่วยให้ TLI ได้รับโอกาสใหม่ ๆ ผ่านการสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย
- TLI ได้ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของ MY
- MY พร้อมที่จะสนับสนุนแผนการขยายธุรกิจระหว่างประเทศที่บริษัทฯ อาจมีในประเทศเมียนมา ประเทศกัมพูชา หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ส่วนที่ 1.2: กลยุทธ์ทางธุรกิจ
เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการเติบโตสำหรับอนาคต บริษัทฯ วางแผนที่จะใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้เพื่อ
- การลงทุนเพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) และการทำการตลาดที่เกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ 2,000 ล้านบาท
- เสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางจัดจำหน่ายผ่านทางพันธมิตร จำนวนประมาณ 5,400 ล้านบาท
- เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุน และสำหรับเงินทุนหมุนเวียนและวัตถุประสงค์อื่น ๆ จำนวนประมาณ 5,938 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนงานของบริษัทในอนาคต และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากประมาณการข้างต้น
กลยุทธ์ของการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัทเกิดจากวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัท ซึ่งบริษัทเรามีวิสัยทัศน์คือความยั่งยืน กลยุทธ์ของเราเน้นการออกผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนไหวต่อดอกเบี้ยน้อย เช่น ผลิตภัณท์แบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล (Participating Product), ประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Link), สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ(Health Rider) กลยุทธ์นี้มีเป้าหมายคือต้องการให้บริษัทมี VONB margin ที่ยั่งยืนและมีการเติบโตของ VONB ท่ามกลางความผันผวนของดอกเบี้ย
มีความยั่งยืนของการสร้างผลกำไรมากกว่าสืบเนื่องจากกำไรส่วนมากมาจากส่วนที่ไม่ได้มีการการันตีผลตอบแทน ซึ่ง Par Product ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่อ่อนไหวต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยน้อย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในการออกขายสู่ตลาดในยุคที่อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนสูง
สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาระยะยาวซึ่งสร้างผลกำไรตลอดช่วงระยะเวลาของกรมธรรม์ ส่วน VONB หรือ มูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่นั้น คือ กำไรที่เกิดขึ้นจากกรมธรรม์ใหม่ที่ขายในปีนั้นๆ บริษัทมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตที่มั่นคงในระยะยาว ดังนั้นบริษัทจึงมุ่งเน้นการเติบโตของ VONB
ส่วนที่ 1.3: การประเมินมูลค่าธุรกิจประกันชีวิต
- การประเมินมูลค่าของธุรกิจประกันชีวิตจะไม่ใช้วิธีเดียวกันกับการประเมินมูลค่าของธุรกิจประเภทอื่นๆ เช่น Price to Earnings (P/E) และ Price to Book Value (P/BV) เพราะผลกำไรในแต่ละปีของธุรกิจประกันชีวิตอาจไม่ได้สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทฯ เนื่องจากธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจระยะยาว
- การประเมินมูลค่าของธุรกิจประกันชีวิตพิจารณาได้จาก Price to Embedded Value (P/EV) ซึ่งตัว Embedded Value เปรียบเสมือน Book Value ในธุรกิจประเภทอื่นๆ แต่สามารถสะท้อนได้ถึงมูลค่าธุรกิจในระยะยาว โดย Embedded Value สามารถสะท้อนมูลค่าผลประโยชน์ที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับของบริษัทประกันชีวิต รวมถึงมูลค่าจากธุรกิจใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นหลัก
Embedded Value ประกอบด้วยสองส่วน คือ
- Value of In-force Business (เงินสดหรือเบี้ยปีต่อที่บริษัทจะรับเข้ามาในอนาคต โดยไม่รวมกับเบี้ยที่ขายใหม่ แล้วคิดเป็น Present Value) บวกกับ
- Adjusted net worth (ส่วนต่างระหว่างมูลค่าตลาดของทรัพย์สินของบริษัท ลบกับ ภาระผูกพันต่างๆ ของบริษัททั้งหมด)
ในปัจจุบัน Embedded Value (“EV”) เป็นวิธีการประเมินมูลค่าบริษัทในอุตสาหกรรมประกันที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ส่วนที่ 1.4: มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 (TFRS17) และ ฉบับที่ 9 (TFRS9)
ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 มาตรฐานการรายงานทางการเงินสองฉบับจะมีผลบังคับใช้ ได้แก่ TFRS9 ซึ่งใช้กับการจัดประเภทและการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ และ TFRS17 ซึ่งใช้กับหนี้สินจากสัญญาประกันภัย โดย TFRS17 จะกำหนดให้หนี้สินจากสัญญาประกันภัยต้องบันทึกมูลค่าตามราคาตลาด สะท้อนถึงสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ในขณะที่ TFRS9 เปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ จัดประเภทสินทรัพย์การลงทุนใหม่ตามโมเดลธุรกิจของตน (เช่น ถือครองจนครบกำหนด หรือซื้อขาย) ร่วมกัน มาตรฐานเหล่านี้จะทำให้งบดุลสะท้อนมูลค่าตลาดมากขึ้น สะท้อนสถานะทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงจาก TFRS4 เป็น TFRS17 มีเป้าหมายในการเพิ่มความโปร่งใส ความสอดคล้อง และความสามารถในการเปรียบเทียบในงบการเงินของบริษัทประกันภัย โดยมาตรฐานไทยจะสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น เพื่อเพิ่มความเข้าใจของนักลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนที่ 1.5: อื่นๆ
ปกติแล้วบริษัทจะเปิดเผยตัวเลข VONB ทุกไตรมาส และ ตัวเลข EV ทุกครึ่งปี
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีในแต่ละรอบปีบัญชี ทั้งนี้ บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ก่อนการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ลิงค์ด้านล้างนี้ https://investor.thailife.com/en/financial-info/dividend-policy-and-payout
ส่วนที่ 1.6: คำศัพท์เกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิต
กรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาประกันภัยที่ยังไม่หมดอายุ ไม่ครบกำหนดหรือไม่ถูกเวนคืนกรมธรรม์หรือสิ้นสุดอายุสัญญา
แนวทางปฏิบัติที่ผู้รับประกันภัยต่อตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยต่อสำหรับความรับผิดทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นของผู้เอาประกันภัยต่อภายใต้สัญญารับประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต่อได้เข้าทำไว้โดยผู้เอาประกันภัยต่อจะชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้กับผู้รับประกันภัยต่อเป็นค่าตอบแทนการรับประกันภัยต่อ
แนวทางปฏิบัติที่บริษัทฯ ในฐานะผู้โอนความเสี่ยงทั้งหมดหรือบางส่วนที่บริษัทฯรับประกันไว้ไปให้กับผู้รับประกันภัยต่อ และตกลงรับประกันภัยต่อช่วงในความเสี่ยงบางส่วนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีต่อบริษัทประกันภัยอื่น โดยบริษัทฯ จะได้รับค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าตอบแทน ซึ่งในกรณีดังกล่าวผู้รับประกันภัยต่อจะมีฐานะเป็นผู้เอาประกันภัยต่อช่วง (Retrocedant)
เหตุการณ์ที่ทำให้มีสิทธิในการเรียกร้องผลประโยชน์ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยการได้รับชำระค่าสินไหมทดแทน นั้น อาจถูกจำกัด หรือถูกยกเว้นจากเงื่อนไขความคุ้มครอง
ค่าธรรมเนียมที่บริษัทประกันจ่ายให้กับตัวแทนประกันหรือนายหน้าประกันสำหรับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือการคงไว้ซึ่งผลิตภัณฑ์ประกันภัย
ค่าตอบแทนที่บริษัทประกันชีวิตได้รับจากการออกกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอีกครั้ง (Reissued)
เบี้ยประกันภัยรับ ซึ่งได้รับจากกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ในการชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว
เบี้ยประกันภัยที่ได้รับในปีถัดไปสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี
เบี้ยประกันภัยที่ได้รับในปีแรกของกรมธรรม์ใหม่ที่ขายได้ โดยจะรวมเฉพาะเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ที่ต้องมีการชำระเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
การคำนวณที่ใช้กันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมประกันภัยเพื่อประเมินการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกัน ซึ่งคำนวณจากร้อยละ 100 ของมูลค่าเต็มปีของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกแบบจ่ายรายงวดทั้งหมดบวกด้วยร้อยละ 10 ของ เบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) ของทุกกรมธรรม์ที่ขายได้ในรอบระยะเวลาดังกล่าว
เบี้ยประกันภัยรับรวม ประกอบไปด้วย
- ร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium)
- ร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premiums)
- ร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) และ
- ร้อยละ 100 ของเบี้ยประกันภัยจากการรับประกันภัยต่อช่วง (Inward Premiums from Retrocession)
ทั้งนี้ เบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทฯ จะไม่รวมส่วนของการลงทุนของผลิตภัณฑ์แบบประกันภัยยูนิตลิงค์ (Unit-linked)
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้รับการออกแบบโดยเปลี่ยนค่าเบี้ยประกันที่ลูกค้าชำระให้เป็นรายได้ประจำโดยมักจะเป็นไปเพื่อการเกษียณอายุ
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่รวมการออมและความคุ้มครองเข้าด้วยกัน โดยจะมีระยะเวลาคุ้มครองคงที่ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปมีระยะเวลาขั้นต่ำตั้งแต่ 3 ปีไปจนถึงระยะเวลาที่ยาวกว่า เช่น 30 ปี หรือมากกว่า โดยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) จะมอบผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตผลประโยชน์กรณีมีชีวิตอยู่ระหว่างอายุสัญญา และผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญาเพื่อเป็นการตอบแทนสำหรับการชำระเบี้ยประกันภัย
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาให้ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิตและเจ็บป่วยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อแลกกับเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัยจากผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือผู้เอาประกันภัยจะได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัยหากประสบเหตุการณ์อื่นที่ได้รับความคุ้มครองในระหว่างอายุของกรมธรรม์ โดยเมื่อกรมธรรม์ครบอายุ ความคุ้มครองจะสิ้นสุดและจะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) มีความคล้ายกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) แต่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (WholeLife) จะให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตจนถึงอายุครบ 90 ปีหรือ 99 ปี โดยจะจ่ายผลประโยชน์ครบกำหนดสัญญา ณ วันครบกำหนดสัญญาตามที่ระบุไว้ (ซึ่งในส่วนนี้จะคล้ายกับผลิตภัณฑ์แบบสะสมทรัพย์ (Endowment) ระยะยาว) เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แบบสะสมทรัพย์ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบตลอดชีพอาจมีการจ่ายผลประโยชน์กรณีมีชีวิตอยู่ระหว่างสัญญาที่หลากหลายรวมถึงผลประโยชน์ที่ไม่มีการรับประกัน เช่น เงินปันผล หรือโบนัส
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ (Unit-linked) จะมีบัญชีที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนด้วยเบี้ยประกันภัยที่ชำระ(หลังหักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์) มูลค่าบัญชีจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับราคาของหน่วยลงทุนที่จะเปลี่ยนไปตามสินทรัพย์อ้างอิงของกองทุนรวมที่ผู้เอาประกันภัยเลือกไว้ ด้วยเหตุนี้ ผลประโยชน์ของกรมธรรม์จึงเชื่อมโยงโดยตรงกับผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้ ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มักจะรวมถึงการให้ความคุ้มครองเพิ่มเติม โดยสามารถชำระค่าผลประโยชน์เพิ่มเติมผ่านการหักหน่วยลงทุนจากต้นทุนประกันภัยหรือชำระเพิ่มเติมแบบสัญญาเพิ่มเติมทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life) มีโครงสร้างที่คล้ายกับประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ (Unit-linked) โดยกรมธรรม์จะมีมูลค่าบัญชี โดยมูลค่าบัญชีซึ่งมาจากค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระ (หลังหักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์และค่าผลประโยชน์คุ้มครอง) ความแตกต่างหลักระหว่างประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life) และประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ (Unit-linked) คือ มูลค่าบัญชีของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life) จะไม่ได้เชื่อมโยงโดยตรงกับผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ลงทุน แต่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลตอบแทนตามที่บริษัทกำหนด (Crediting Rate) โดยพิจารณาจากผลตอบแทนการลงทุนและการแข่งขัน
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (Universal Life) และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ (Unit-linked)
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)
- ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Life)
- ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำหรือแบบบำนาญ (Annuity)
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมจากปัจจัยบางประการ เช่น ผลการดำเนินงานด้านการลงทุน ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ผู้รับประกันภัยกำหนด
มูลค่าส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นในธุรกิจปัจจุบันของบริษัทประกันชีวิต โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งเป็นการประมาณการมูลค่าทางเศรษฐกิจของธุรกิจประกันชีวิตโดยอาศัยสมมติฐานเฉพาะเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยไม่รวมมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากธุรกิจใหม่ในอนาคต
ประมาณการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยในการวัดมูลค่าของส่วนผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจประกันใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา โดยมูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่ (Value of New Business หรือ VONB) เกิดจากการคำนวณมูลค่าปัจจุบันของกำไรหลังหักภาษีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหักด้วยต้นทุนของเงินทุนที่เกี่ยวข้อง
ผลรวมของเบี้ยประกันภัยรับปีแรก (First Year Premium) เบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป (Renewal Premium) และเบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) ทั้งนี้ รายได้จากเบี้ยประกันภัยรับรวม (Total Premium Revenues) ไม่รวมเบี้ย ประกันภัยรับจากการรับประกันภัยต่อช่วง
การบอกเลิกสัญญากรมธรรม์โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตามที่กาหนดในสัญญาประกันภัย (ถ้ามี)
ผลประโยชน์ประกันภัยเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์หลัก โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการเพิ่มความคุ้มครองของกรมธรรม์หลัก หรือผลประโยชน์อื่นนอกเหนือไปจากผลประโยชน์ภายใต้กรมธรรม์หลัก โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมสำหรับผลประโยชน์เพิ่มเติมดังกล่าว
มูลค่าการลงทุนที่บริษัทฯ เป็นผู้บริหารการลงทุนดังกล่าว ซึ่งรวมถึงเงินกู้
สมาคมประกันชีวิตไทย เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือกันในการที่จะส่งเสริมพัฒนา ธุรกิจการประกัน ชีวิตให้เจริญก้าวหน้า
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tlaa.org/
เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการประกันภัยอย่างครบถ้วน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมาภิบาล (Good Corporate Governance) และการปฏิบัติตามแนวทางธรรมาภิบาลที่เป็นสากล
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.oic.or.th/th/consumer
ร้อยละของมูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่ (Value of New Business หรือ VONB) ต่อเบี้ยประกันภัยรับปีแรกแบบคำนวณรายปี (Annual Premium Equivalent หรือAPE) สำหรับธุรกิจใหม่ที่ขายได้ใหม่ในรอบระยะเวลารายงาน
ร้อยละของค่าเบี้ยประกันชีวิตเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product หรือ GDP)
อัตราอุบัติการณ์และระยะเวลาของการเจ็บป่วยที่จะแปรผันตามปัจจัยต่าง ๆ เช่นอายุ เพศ และระยะเวลาตั้งแต่ทุพพลภาพ โดยอัตราดังกล่าวจะนำไปใช้ในการกำหนดราคาและคำนวณความรับผิดสำหรับผลิตภัณฑ์ประกันอุบัติเหตุและผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ
อัตราการเสียชีวิตที่จะแปรผันตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ และสุขภาพ โดยอัตราดังกล่าวจะนำไปใช้ในการกำหนดราคา และคำนวณความรับผิดสำหรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำหรือแบบบำนาญ (Annuity) ซึ่งมีความเสี่ยงด้านอัตราการเสียชีวิต
อัตราการเติบโตหรือผลตอบแทนที่เกิดขึ้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุดของระยะเวลา โดยเฉลี่ยต่อปีและคำนวณแบบทบต้น
การจ่ายเงินผลประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยหารด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม
ร้อยละของเบี้ยประกันภัยรับที่ได้รับจากกรมธรรม์ที่จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นปีที่สองหารด้วยเบี้ยประกันภัยปีแรกจากกรมธรรม์ที่ออกในปีก่อนหน้า ซึ่งจะคำนวณเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับใช้ภายในระยะเวลา 13 เดือน